โรคข้อเข่าเสื่อม ยังไม่แก่ก็เป็นได้!

0
84
หัวข้อหลัก เปิด

โรคข้อเข่าเสื่อม ยังไม่แก่ก็เป็นได้!

ใครที่รู้สึกได้ว่าส าพร่างกายผิดปกติ จะต้องรีบเช็คกันด่วน ๆ ไม่ว่าจะเป็นส าพร่างกายที่ดูเหนื่อย น้ำหนักลง หรือ ขึ้นผิดปกติ รวมทั้งการหายใจ ระบบต่าง ๆ  ายในร่างกาย ถ้ารู้สึกผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ในทันทีเพราะอาจจะเป็นการส่งสัญญาณถึงโรคที่ร้ายแรงก็เป็นไปได้เช่นกัน สำหรับวันนี้พวกเราจะพาไปรู้จักกับอีกหนึ่งโรคอย่าง “ โรคข้อเข่าเสื่อม ” ที่คุณไม่ต้องอายุมาก ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน โดยวันนี้พวกเราจะพาไปดูกับสาเหตุของโรคนี้ พร้อมทั้ง อาการที่จะเป็น และ วิธีรักษา ป้องกัน ไม่ให้เป็นโรคนี้เมื่อไม่ถึงวัยอันควร เพราะเรื่องกระดูกข้อต่อนั้นสำคัญ เมื่อเป็นโรคนี้จะทำให้ชีวิตของคุณเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงอย่างแน่นอน ดังนั้นป้องกัน และ เรียนรู้ นี่คือสิ่งที่ควรทำอันดับแรก


สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม

“โรคข้อเข่าเสื่อม” เมื่อได้ฟังเกี่ยวกับคำว่าเสื่อมแล้ว ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในอายุมาก หรือ วัยชราเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน วัยรุ่น หรือ วัยกลางคนก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน สำหรับโรคเข่าเสื่อมนั้นมีสาเหตุหลักเลยก็คือ การที่กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมในด้านรูปร่าง รวมทั้งโครงสร้างของข้อต่อ ทำให้การทำงานของกระดูก กับ ข้อต่อ รวมไปถึงกระดูกบริเวณใกล้ ๆ กับข้อ ไม่สามารถทำงานในส าพปกติได้ โดยจะมีอาการรุนแรงตามลำดับของโรคต่อไป สำหรับผลข้างเคียงที่แน่นอนเลยก็คือ อาการปวด ที่เมื่อเวลาเรานั่งงอเข่า หรือ การย่อตัว การเดินเป็นเวลานาน การกระโดด ที่จะรู้สึกปวดข้อเข่า นี่แหละคือสาเหตุเริ่มต้นของการเป็นโรคนี้ ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา ก็จะเกิดอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตที่มากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียถึงขั้นเดินไม่ได้นั่นเอง


2 ปัจจัยใหญ่ที่อาจจะส่งผลให้เกินโรค “ข้อเข่าเสื่อม”

ปัจจัยที่อาจจะส่งผลให้เกิดโรคนี้ มี อยู่ 2 ปัจจัยหลัก ๆ นั่นก็คือ แบบปฐม ูมิ ที่มีกระดูกอ่อนตามวัย และ ความเสื่อมแบบทุติย ูมิ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การเสื่อมแบบปฐม ูมิ 

         สำหรับการเสื่อมแบบปฐม ูมิ คือ การเสื่อมของกระดูกอ่อนตามวัย ซึง่จะพบมากในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่น ๆ ตามมาที่ส่งผลกระทบให้เกิดโรคนี้ตัวอย่างเช่น

  • ปัจจัยเรื่องเพศ ซึ่งเพศหญิงจะมีปัญหาโรคนี้มากกว่าเพศชาย เพราะเกี่ยวกับการทำงานของต่อมไร้ท่อ
  • ปัจจัยเรื่องน้ำหนักตัว โดยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัมนั้น จะทำให้เพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1-1.5 กิโลกรัมเลยทีเดียว ดังนั้นก็จะมีผลโดยตรงต่อเรื่องนี้อย่างแน่นอน
  • ปัจจัยเกี่ยวกับพฤติกรรม เริ่มตั้งแต่การนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ หรือ ขัดสมาธิเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
  • ปัจจัยเกี่ยวกับความบกพร่อง ข้อต่อหลวม หรือ กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง สิ่งเหล่านี้เกิดจากความบกพร่องของร่างกาย
  • ปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์ มีงานวิจัยพบว่า โรคข้อเข่าเสื่อม มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

การเสื่อมแบบทุติย ูมิ

การเสื่อมในรูปแบบที่ 2 นี้ ก็คือ การเสื่อมที่กระทบกับการกระทำอื่น ๆ ในชีวิต ตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุ หรือ อาการบาทเจ็บที่ส่งผลที่ข้อต่อ หรือ เส้นเอ็น จากการเล่นกีฬา หรือ ทำงาน ดังนั้นโรคข้อเข่าเสื่อมจะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัยเลยก็ว่าได้


เกิดกับใครได้บ้าง กับ “โรคข้อเข่าเสื่อม”

สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น เรียกได้ว่าสามารถเกิดขึ้นกับคนที่อายุไม่มากได้เช่นเดียวกัน โดยมีปัจจัยอย่างที่บอกไปข้างต้นแล้ว แต่ก็สามารถจำแนกความน่าจะเป็นได้เพิ่มขึ้นดังต่อไปนี้

  • สำหรับผู้สูงอายุ จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุ 40-50 ปีขึ้นไป โดยในเพศหญิงส่วนใหญ่จะเป็นมากกว่าเพศชายเพราะฮอร์โมนต่างกัน
  • สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 40-50 ปี อาจจะได้รับการบาดเจ็บบริเวณข้อต่อ จากอุบัติเหตุ หรือ เล่นกีฬา หรือ ผู้ที่มีน้ำหนักมาก เป็นโรคอ้วน และ โรคประจำตัวที่กระดูกอ่อนถูกทำลายอย่าง รูมาตอยด์ และ เก๊าท์ นั่นเอง

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น “โรคข้อเข่าเสื่อม” โดยคำถามนี้ถือได้ว่ามีคำตอบให้มากมายหลายทาง เพราะโรคนี้มีหลายระยะในการเป็น เริ่มตั้งแต่อาการระยะแรก ระยะกลาง และ ระยะที่รุนแรง ซึ่งจะมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

อาการข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก

สำหรับในระยะแรกของโรค “ข้อเข่าเสื่อม” จะมีอาการปวดเข่า เจ็บข้อเข่า กับท่าทางที่มีแรงกดต่อผิวเข่ามาก เช่น การนั่งพับเพียบ,การนั่งยอง หรือ การนั่งงอเข่า การเดินเป็นเวลานาน ก็จะรู้สึกเจ็บเข่านั่นเอง ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ อาจจะมีอาการตึงเข่าร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น การขยับเข่าลำบาก ตั้งแต่ในช่วงหลังตื่นนอน หรือ งอเข่าได้ไม่สุด โดยในระยะแรก ๆ ก็อาจจะตึงอยู่ไม่นาน หายปวดเองได้ หากอาการเหล่านี้เริ่มเรื้อรังมากว่า 6 เดือน ก็อาจจะหมายถึงอาการข้อเข่าเสื่อมไปในระดับปานกลางนั่นเอง

อาการข้อเข่าเสื่อมในระยะปานกลาง

ในระดับนี้ หลังจากที่ผ่านระยะแรกมาได้ ช่วงเวลากว่า 6 เดือนที่เป็น ให้คิดเอาไว้เลยว่าเราเป็นระยะกลางแน่นอน เพราะจะมีอาการปวด ตึง ข้อเข่ามีเสียงดังกรอบแกรบในขณะที่ขยับบริเวณข้อข่า เริ่มลุกจากเก้าอี้ได้ลำบาก พร้อมทั้งงอเข่าแทบไม่ได้ ซึ่งถ้าหากว่าใช้มือกดแล้วมีความรู้สึกเจ็บ หรือ บริเวณข้อเข่าบวม แสดงว่ามีอาการอักเสบ และ อาจจะรุนแรงได้ในอนาคต

อาการข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรง

ถ้าหากว่าอยู่ในระดับที่รุนแรงแล้วนั้น จะมีอาการปวดที่รุนแรงเป็นอย่างมาก แถมยังปวดตลอดเวลา ซึ่งไม่จำเป็นต้องนั่ง หรือ ยืน ก็รู้สึกปวดอยู่เสมอ หากสัมผัสบริเวณที่ข้อ จะมีอาการบวม หรือ ร้อน นั่นแหละกำลังอักเสบอยู่ อีกทั้งมีการตรวจพบข้อเข่าหลวม ข้อเข่าโก่ง หรือ เบี้ยวผิดรูป  นี่แหละคืออาการที่ถึงขั้นรุนแรงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับใครที่มีอาการก็ควรที่จะพบแพทย์ทันที อย่าปล่อยให้รอนานเพราะจะทำการรักษายากกว่าปกติ


ปวดเข่าแค่ไหน ถึงต้อง “พบแพทย์”

โรคข้อเข่าเสื่อม

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ใครหลายคนอยากทราบ เพราะว่า เมื่อไหร่ที่เรามีอาการ เมื่ออยู่ในขั้นต้นก็มักจะหายไปตามธรรมชาติ แต่สำหรับใครที่ยังมีอาการปวด หรือ อยู่ในข้อเสี่ยงที่ข้อเข่าจะเสื่อมได้ ก็ต้องรีบพบแพทย์ในทันที ส่วนอีกข้อสังเกตุก็คือ เมื่อมีอาการปวดแล้วกินยาไม่ดีขึ้น ผ่านมา 5-6 เดือน ให้พบแพทย์เช่นกัน เพราะการรักษาต้องรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณเกี่ยวกับโรคอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน


วินิจฉัยโรค ข้อเข่าเสื่อม

แพทย์จะทำการประเมิณเบื้องต้นเกี่ยวกับการรักษาทั่วไปของผู้ป่วย รวมไปถึงอาการข้อเข่าที่เสื่อมสามารถส่งตรวจเอกซเรย์ เพื่อค้นหาความจริงว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งไม่ใช่เป็นการ เอกซเรย์ เพียงอย่างเดียวในปัจจุบันสามารถสั่งทำ MRI ได้ เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคอื่น ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน

งานวินิจฉัยยังมีการเจาะเลือก โดยจากการเจาะเสือดจะช่วยแยกสาเหตุอื่น ๆ ออกจากโรคนี้ได้ อีกทั้งในการประเมินระดับความรุนแรงของโรคนี้ แพทย์ก็จะวินิจฉัน และ ให้คะแนนที่เหมาะสมกับการประเมินนั่นเอง


วิธีดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม

เมื่อพบว่าเป็นโรคนี้ หรือ ไม่ได้เป็น ไม่ว่าจะอยู่ในระยะไหน ก็มีทางรักษาได้ แต่ทว่าเรื่องการหายขาด หรือ ช่วยบรรเทาให้ดีขึ้น จะอยู่กับระยะของโรคนี้ ซึ่งถ้าอยู่ในระยะแรกก็อาจจะหายขาดได้ ส่วนในระดับปานกลาง ก็ต้องมีวินัยในการรักษา ส่วนระดับที่รุนแรง ก็จะต้องค่อย ๆบรรเทากันต่อไปเกี่ยวกับ โรค “ข้อเข่าเสื่อมนี้ ซึ่งมีวิธีการดูแลตัวเองดังต่อไปนี้

1.การรักษาโดยใช้ยา

การรักษาโรคนี้ เมื่อพบว่าอยู่ในระยะปานกลาง หรือ ระยะรุนแรง ก็จะมีการรักษาให้บรรเทาอาการปวดข้อ โดยการใช้ยา ซึ่งจะมีทั้งแบบฉีดยา รวมทั้งแบบรับประทานอีกด้วย

2.การทำกาย าพบำบัด

“กาย าพบำบัด” คือ อีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้เป็นอย่างดี ทั้งการใช้เลเซอร์รักษา พร้อมทั้งฟื้นฟูสมรรถ าพของร่างกายในช่วงก่อนผ่าตัด และ หลังผ่าตัดด้วย

3.การออกกำลังกาย บริหารข้อเข่า

การออกกำลังกายเป็นประจำ จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณต้นขา รวมทั้ง ข้อเข่าด้วยเช่นกัน การถ่ายเทน้ำหนักจะทำได้ดีขึ้น และเมื่อน้ำหนักลดลง ก็จะส่งผลดีต่อเข่าด้วยเช่นกัน

4.การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมชีว าพ

สำหรับการรักษาทางชีวิ าพนั้น จะเป็นการรักษาอาการผิดปกติของกระดูกอ่อน กับ น้ำเลี้ยงข้อเข่า โดยจะมีการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า หรือ สารสกัดที่มีความเข้มข้นของเกล็ดเลือดสูงกว่าปกติ เพื่อบรรเทาอาการปวด หร้อมทั้งลดอาการฝืดตึงของข้อเข่าที่กำลังใช้งานอยู่

5.การผ่าตัดโดยวิธี ส่องกล้อง

สำหรับการผ่าตัดในประเ ทนี้ จะเป็นรูปแบบใหม่คือ การสอดกล้องวิดีโอขนาดเล็กเข้าไปในข้อเข่า พร้อมทั้งเชื่อมสัญญาณต่อกับทีวี ทำให้การรักษามองเห็นได้หลายส่วนของคนไข้ โดยวิธีการนี้มักจะใช้กับ ปัญหาหมอนรองข้อเข่าขาด เอ็นข้อเข่าขาด กระดูกอ่อนแตก ข้อเข่าล็อค ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดต้อรอช่างมาอย่างเดียว

6.การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

นี่คืออีกหนึ่งช่องทางการผ่าตัดเช่นเดียวกัน เพราะจะมีการเปลี่ยนเป็นข้อเข่าเทียม ที่จะช่วยลดอาการปวดของเข่า รวมทั้งการเคลื่อนไหวที่ถูกเพิ่มขึ้น จะทำให้ชีวิตของคนเข่าเสื่อมนั้นดูง่ายขึ้น พร้อมทั้งผู้ป่วยก็ดูแลตัวเองได้


แนะนำวิธีป้องกันโรค ข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม

สำหรับโรค ข้อเข่าเสื่อม จะสามารถป้องกันได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การปรับตัวเอง หรือ ปรับพฤติกรรม ายใน และ การจัดการกับปัจจัย ายนอก โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การปรับพฤติกรรม ายใน

จะเริ่มจากการนั่งพับเพียบ การคุกเข่า การนั่งยอง หรือ นั่งไขว้หาง ก็จะมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ ดังนั้นต้องระวัง ปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ทั้งการหมุนเข่า การขึ้นลงบันได รวมทั้งการยกของหนัก ที่ไม่ควรไปทำตรงนี้ ที่สำคัญให้หลีกเลี่ยงการใช้หมอนรองใต้เข่าเวลาที่นอน โดยวิธีนี้จะส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไม่ราบรื่น

การปรับปัจจัย ายนอก

อันดับแรกก็ต้องเริ่มจากบ้านของเรา ที่ควรจะจัดให้ทางสะดวก ไม่โล่ง เพื่อการเดินจะได้โล่ง ไม่สะดุด อีกทั้งการหลักเลี่ยงการขึ้นบันได ต่อมาเป็นการใช้ส้วมแบบชักโครกก็ดูไม่สะอาด ดังนั้นก็ต้องมีแผ่นกันลื่น หรือ ราวจับเอาไว้ด้วย เลี่ยงการลงไปอาบน้ำในบ่อ หรือ อะไรก็แล้วแต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องมีราวจับครับ


อย่าปล่อยเอาไว้ คุณลองเช็คตัวเองกันแล้วหรือยัง เชื่อเลยว่าใครที่ได้อ่านมาถึงตรงนี้ก็จะต้องนึก าพถึงสัญญาณเหล่านี้ว่า พวกเราเตือนเรามาหรือเปล่า ดังนั้นแล้วเมื่อมีอาการเจ็บเข่า หรือ ปวดเข่า ก็ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อเช็คตัวเองด้วยว่าจะมีวิธีรักษา หรือ เมื่อรู้ว่าตนเองเป็นระยะไหน ก็จะต้องรักษาตามอาการ และทั้งหมดนี่ก็คือ เรื่องราวของโรค “ข้อเข่าเสื่อม” ที่หวังว่าจะเป็นความรู้ที่ท่านผู้อ่านได้อ่านแล้วเข้าใจง่าย  โดยจะเป็นบทความดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านทุกท่านทั้งในปัจจุบัน และ อนาคต


อ้างอิงจาก:

https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21750-osteoarthritis-knee#:~:text=Osteoarthritis%20of%20the%20knee%20happens%20when%20the%20cartilage%20in%20your,progress%20and%20ease%20your%20symptoms.

https://www.webmd.com/osteoarthritis/ostearthritis-of-the-knee-degenerative-arthritis-of-the-knee

Last Updated on 2 weeks